วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปภาพ







วิดีโอ

วิดีโอ

วิดีโอ

ลิงค์

วอลเลย์บอล
ประวัติวอลเลย์บอล
ประวัติวอลเลย์บอล
กีฬาวอลลเลย์บอล
กีฬาบอลเลย์บอลในโอลิมปิก

หลักการและวิธีการตั้งลูก

การตั้งลูกเป็นการเล่นลูกบอลต่อจาก การรับลูกเสิร์ฟหรือจากการรับลูกตีหรือตบ จากฝ่ายตรงข้าม บริเวณหน้าตาข่าย เพื่อตั้งลูกให้โด่งหรือลอยสูงขึ้นให้ผู้เล่นที่เป็นตัวตบ กระโดดตบลูกไปยังฝ่ายตรงข้าม โดยถ้าลูกบอลมาสูงตั้งแต่เหนือศีรษะขึ้นไปมักจะใช้การเล่นลูกสองมือบนในการตั้งลูก แต่ถ้าลูกบอลมาต่ำกว่าระดับศีรษะมักจะใช้การเล่นลูกสองมือล่างในการตั้งลูก การตั้งลูกจะต้องบังคับลูกบอลให้ดี มีจุดหมายที่แน่นอน ต้องตั้งลูกในแบบที่เพื่อนร่วมทีมชอบได้ และสามารถที่จะ
คิดได้ว่าควรส่งบอลให้ผู้เล่นคนไหน และเมื่อไหร่ เพื่อให้การตบลูกได้ผลดีที่สุด
ขั้นตอนในการตั้งลูก
1.
การเคลื่อนที่เข้าไปตั้งลูก ผู้ตั้งลูกจะต้องสังเกตทิศทางของลูกตั้งแต่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม

เล่นลูกข้ามมา ว่าลูกบอลจะไปในทิศทางใด เมื่อผู้รับคนแรกเล่นลูกแล้วลูกบอลจะไป
ในทิศทางใด ผู้ตั้งลูกต้องรีบเคลื่อนที่ไปรอตั้งแต่ตอนที่ลูกบอลออกจากมือผู้เล่นลูกมา
2.
การสัมผัสลูก ในขณะทีลูกบอลลอยมาให้หันหน้าเข้าหาลูกบอล หรือหันไปยังทิศทาง

ที่จะตั้งลูกออกไป จะต้องตั้งมือและแขนให้เสร็จก่อนที่ลูกบอลจะมาถึง จะด้วยวิธีการเล่น
แบบใดก็ตาม จะต้องพยามยามสัมผัสให้ลูกบอลเคลื่อนที่ออกไปให้นิ่งมากที่สุด ไม่ให้
ลูกหมุนมากหรือแกว่ง
3.
ความสูงของลูก ความสูงของลูกต้องมากพอที่ผู้ตบจะเคลื่อนที่เข้ามาตบลูกได้พอดี
4.
ทิศทางของลูก ต้องตั้งให้ลูกลอยโด่งไปตกบริเวณหน้าผู้เล่นที่จะตบ และลูกที่ตั้งออกไป
จะต้องไม่เข้าไปใกล้ตาข่ายมากเกินไป หรือข้ามไปในแดนตรงข้าม
ข้อควรคำนึงในการตั้งลูก
1.
จะต้องเคลื่อนที่ให้เร็วเข้าไปตั้งลูก
2.
ในการตั้งลูกลำตัวต้องนิ่งโดยใช้ขาเป็นหลัก แต่ถ้าขาไม่นิ่งให้ใช้ลำตัวเป็นหลัก หรือใช้เอว
เป็นหลัก ถ้าลำตัวหรือเอวเป็นหลักไม่ได้ให้ใช้แขนเป็นหลัก จะทำให้การตั้งลูกแน่นอนแม่นยำ
หรือมีความมั่นคงขึ้น
3.
ในการแข่งขัน อาจต้องวิ่งเข้าไปตั้งลูก มีโอกาสน้อยที่จะอยู่กับที่แล้วตั้งลูก และอาจจะต้อง มีการหมุนตัว 45 องศาในการตั้งลูก

รูปแบบการยืนตั้งรับลูกเสิร์ฟ

การเล่นวอลเลย์บอลเริ่มต้นการเล่นด้วยการเสิร์ฟทุกครั้ง ดังนั้นการยืนตำแหน่งและการยืนรับ ลูกเสิร์ฟ เป็นสิ่งที่ผู้เล่นทุกคนต้องปฏิบัติจนชำนาญ เพราะการรับลูกเสิร์ฟเป็นหัวใจสำคัญของการ
เปิดเกมการรุก ถ้ารับลูกเสิร์ฟและบังคับลูกบอลไปให้ผู้ตั้งลูกได้แม่นยำ ผู้ตั้งลูกจะตั้งลูกให้ผู้เล่น
ตบลูกได้ดี ซึ่งทำให้เกมการรุกมีประสิทธิภาพ ถ้าการรับลูกไม่ดี ไม่มีจุดหมาย โอกาสจะเป็นฝ่ายรุก
ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไป และตกเป็นฝ่ายรับอีก
ตำแหน่งและแบบการยืนตั้งรับลูกเสิร์ฟโดยทั่วไปมี
3 แบบคือ
1.
แบบรูปตัว M

2. แบบรูปตัว W
3. แบบรูปตัว V

การเล่นวอลเลย์บอลในตำแหน่งต่าง ๆ

การเล่นวอลเลย์บอลให้ประสบผลสำเร็จในการแข่งขันได้นั้น ต้องอาศัยความสามารถ
ของผู้เล่นในทีมแต่ละคน ในการรับและตอบโต้ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางตำแหน่งผู้เล่น
แต่ละคนในทีม ที่มีความสามารถในการเล่นลูกและการตบลูก ซึ่งจะต้องว่างตำแหน่งให้ถูกต้อง เพราะว่าในการจะตบลูกได้ดีและประสบผลสำเร็จ ต้องอาศัยการตั้งลูกที่ดีด้วย หากการตั้งลูกได้ไม่ดี การตบลูกก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดีทีมจึงจะประสบผลสำเร็จได้
ตำแหน่งต่าง ๆ ในการเล่นวอลเลย์บอล
(ไชยพันธ์ วยาจุต, 2537)
ในการเล่นวอลเลย์บอลมีตำแหน่งในการเล่นทั้งหมด 6 ตำแหน่ง ดังนี้
1. ตำแหน่งที่ 1 เริ่มจากตำแหน่งเสิร์ฟ ซึ่งมักเรียกกันว่า ตำแหน่งหลัง - ขวา
2. ตำแหน่งที่ 2 เรียกว่า หน้า – ขวา เป็นผู้เสิร์ฟคนต่อไป
3. ตำแหน่งที่ 3 เรียกว่า หน้า – กลาง เป็นผู้เสิร์ฟต่อจาก ตำแหน่งที่ 2

4. ตำแหน่งที่ 4 เรียกว่า หน้า – ซ้าย เป็นผู้เสิร์ฟต่อจาก ตำแหน่งที่ 3
5. ตำแหน่งที่ 5 เรียกว่า หลัง – ซ้าย เป็นผู้เสิร์ฟต่อจาก ตำแหน่งที่ 4
6. ตำแหน่งที่ 6 เรียกว่า หลัง – กลาง เป็นผู้เสิร์ฟต่อจาก ตำแหน่งที่ 5
หน้าที่ของตำแหน่งต่างๆ ในการเล่นวอลเลย์บอลขณะเป็นผู้เล่นฝ่ายส่งลูกและฝ่ายรับลูก
ผู้เล่นในสนาม
6 ตำแหน่งทำหน้าที่เป็นผู้เล่นแดนหน้า 3 คน แดนหลัง 3 คน ในขณะที่เป็น
ผู้เล่นฝ่ายส่งลูก และผู้เล่นฝ่ายรับลูก จะประกอบด้วยตำแหน่งต่อไปนี้
1. ในขณะที่เป็นฝ่ายส่งลูก
1.1 ผู้เสิร์ฟ เป็นผู้เล่นตำแหน่งที่ 1

1.2 ผู้รับลูก เป็นผู้เล่นแดนหลัง 3 คนเป็นหลัก หรืออาจจะมีผู้เล่นแดนหน้าบางคนที่ลูกบอล
ไปตกใกล้ตัวเป็นผู้รับลูกก็ได้ ทั้งหมดเป็นผู้เล่นลูกที่ 1 ส่งไปหน้าตาข่ายให้ผู้ตั้งลูกซึ่งเป็น
ผู้เล่นตำแหน่งที่ 3
1.3 ผู้ตั้งลูก เป็นผู้เล่นตำแหน่งที่ 3 ตั้งลูกบอลให้ผู้เล่นตำแหน่งที่ 2 หรือ 4 กระโดดตบลูก
1.4 ผู้ตบ เป็นผู้เล่นในตำแหน่งที่ 2 หรือ 4 2
2. ในขณะที่เล่นเป็นฝ่ายรับลูก
2.1 ผู้เล่นแดนหน้าทั้ง 3 คน ทำหน้าที่สกัดกั้น และเป็นผู้รับลูกด้วยถ้าไม่ได้สกัดกั้น
2.2 ผู้เล่นแดนหลังทั้ง 3 คน ทำหน้าที่เป็นผู้รับลูก การหมุนตำแหน่ง (อุทัย สงวนพงศ์, ม.ป.ป.)
ในการหมุนตำแหน่ง ใช้วิธีการหมุนไปตามเข็มนาฬิกาทีละตำแหน่ง ทันทีทีผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูก ไปแล้ว ผู้เล่นจะยืนที่ตำแหน่งใดในแดนของตนก็ได้ ระหว่างการเล่นทีมที่รับลูกเสิร์ฟชนะการเล่น หรือฝ่ายเสิร์ฟทำเสีย ฝ่ายรับลูกก็จะได้สิทธิ์ในการเสิร์ฟ ผู้เล่นฝ่ายที่จะเสิร์ฟต้องหมุนไปตาม เข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง ซึ่งลำดับการหมุนตำแหน่งนี้ต้องคงอยู่ตลอดการแข่งขันในเซตนั้น ๆ จนกว่าจะเริ่มเซตใหม่ ลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นอาจเปลี่ยนไปก็ได้ แต่ต้องแจ้งในใบบันทึก การแข่งขันให้ถูกต้อง

วอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก

จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก

การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา

ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง
จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ

วอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

วอลเลย์บอล

      กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล
           ในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้
1.เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ
2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน
3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต
4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว
5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์
6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 2
7. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ
8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย
9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก
10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี
         ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

กติกา ในการเล่น

การแข่งขันใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาท
 ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็ผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟจะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การบล็อก
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น

ประวัติ วอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล (อังกฤษ: volleyball) เป็นกีฬาที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม ทีมละ 6 คน โดยแบ่งเขตจากกันด้วยเน็ตสูง การทำคะแนนจากลูกบอลที่ตกในเขตแดนของฝ่ายตรงกันข้าม
กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้
เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโทเนตต์" (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น
ปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล